ไขความลับ: ทำไมเครื่องบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา แต่รายได้กลับเป็นของไทย?


- ท่าอากาศยานพนมเปญ (Phnom Penh International Airport)
- ท่าอากาศยานเสียมเรียบ (Siem Reap International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติสีหนุ (Sihanouk International Airport)
- ท่าอากาศยานพระตะบอง (Battambang Airport)
- ท่าอากาศยานเกาะกง (Koh Kong Airport)
- ท่าอากาศยานสตึงเตรง (Stung Treng Airport)รายได้หลักของ CATS (ปี 2567)
- เที่ยวบินภายในประเทศ (Landing & Take-off: Domestic) – ประมาณ 30 ล้านบาท (2%)
- เที่ยวบินระหว่างประเทศ (Landing & Take-off: International) – ประมาณ 575 ล้านบาท (33%)
- เที่ยวบินที่บินผ่าน (Overflight) – ประมาณ 1,150 ล้านบาท (65%)
รวมรายได้หลักทั้งหมดประมาณ 1,755 ล้านบาท
แล้วทำไมรายได้ตกเป็นของไทย?เนื่องจาก CATS ปัจจุบันถือหุ้นโดยบริษัทไทย 100% คือ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV โดยมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังนี้:
โดยทั้งสองบริษัทข้างต้น ถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกัมพูชาได้รับส่วนแบ่งแค่ไหน?หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของกัมพูชานั่นคือ สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (The State Secretariat of Civil Aviation of Cambodia) หรือ SSCA เปรียบได้กับ สำนักงานการบินพลเรือนของไทย โดยตามสัมปทานที่รัฐบาลกัมพูชามีกับ CATS นั้น CATS จะต้องแบ่งรายได้ให้กับ SSCA ตามสัดส่วนดังนี้:
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แบ่งให้ SSCA 50% ของรายได้
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชาแบ่งให้ SSCA 40% ของรายได้ (30% ในปีที่ 1-15 แต่ได้ครบกำหนดไปแล้ว)
หมายเหตุSAV ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เสนอขาย IPO ที่ราคา 19 บาทต่อหุ้น ระดมทุนได้ 1,216 ล้านบาท
ข้อมูลจาก: หนังสือชี้ชวนตราสารทุนของ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
Leave a Comment